สภาพทางด้านการศึกษา
1. โรงเรียนในระดับประถมศึกษา จำนวน 4 โรงเรียน เป็นโรงเรียนของรัฐบาลทั้งหมดดังนี้
- ร.ร.สร้างมิ่งประสิทธิ์ผล ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 1, 2, 4 และหมู่ 12
- ร.ร.นางามแก่นลำดวนวิทยา ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 6
- ร.ร.โนนสูงวิทยา ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 7
- ร.ร.หนองไผ่รัฐบำรุง ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 3, 10 และ หมู่ 11
2. โรงเรียนในระดับมัธยมศึกษา จำนวน 1 โรงเรียน คือ
- ร.ร.โนนสูงพิทยาคม ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 7 สังกัด สพม. 24
3. มีที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน สุขศาลาประจำหมู่บ้าน
4. มีศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน จำนวน 1 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ที่ รพสต.โนนสูง
5. มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำหมู่บ้าน จำนวน 2 แห่ง
6. มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำเทศบาล จำนวน 1 แห่ง
สภาพทางด้านศาสนา
มีวัด จำนวน 9 แห่ง ดังนี้
- วัดสว่างโพธิ์ศรีหนองจาน อยู่ในเขตหมู่ที่ 1
- วัดบูรพาสร้างมิ่ง อยู่ในเขตหมู่ที่ 2,12
- วัดอุดรมีชัย อยู่ในเขตหมู่ที่ 4
- วัดป่าหนองจิก อยู่ในเขตหมู่ที่ 5
- วัดสว่างวารีบ้านนางาม อยู่ในเขตหมู่ที่ 6
- วัดป่าโนนสูงใต้ อยู่ในเขตหมู่ที่ 8
- วัดสว่างโนนสูง อยู่ในเขตหมู่ที่ 5,7,9
- วัดอุดมผลหนองไผ่ อยู่ในเขตหมู่ที่ 3,10,11
- วัดป่าหนองขามเหนือ อยู่ในเขตหมู่ที่ 10
มีสำนักสงฆ์ จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
- สำนักสงฆ์วังโพธิ์
- สำนักสงฆ์บ่อน้ำทิพย์
สถานที่ราชการในเขตเทศบาลตำบลโนนสูง
- สำนักงานเทศบาลตำบลโนนสูง ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 7
- ร.พ.ส่งเสริมสุขภาพบ้านโนนสูง ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 5
- สถานีตำรวจภูธรตำบลโนนสูง ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 5
สภาพทางสังคม
สภาพสังคมและวัฒนธรรมตำบลโนนสูง มีลักษณะเหมือนสังคมชนบททั่วไปของชาวอีสาน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ลักษณะครอบครัวอยู่ด้วยกันเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ มีวิถีในการดำเนินชีวิตชีวิตแบบเรียบง่ายรักสงบ มีการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันแบบพี่น้องในเครือญาติ ยังมีความนับถือผู้อาวุโส ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี มีจิตใจโอบอ้อมอารี นับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลัก
มีวัดภายในตำบล จำนวน 9 แห่ง สำนักสงฆ์ 2 แห่ง ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาและกิจกรรมต่างๆ ในขณะเดียวกันยังมีชาวบ้านบางส่วนยังมีความเชื่อเรื่องการนับถือผี และมีการรักษาอาการต่างๆโดยหมอลำทรงมีลักษณะคล้ายกับผีฟ้า ซึ่งมีความเชื่อว่าจะช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บทั้งปวงให้หายขาดได้ นอกจากนี้ชุมชนยังยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี ที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาเป็นประจำตลอดทั้ง 12 เดือน เรียกว่า ฮีต 12 ซึ่งคำว่า ฮีต นั้นมาจากคำว่าจารีต เป็นการผสมผสานพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องผีและพิธีกรรมทางการเกษตร เข้ากับพิธีกรรมทางพุทธศาสนาตลอดทั้ง 12 เดือน ใน 1 ปี ได้แก่
บุญเข้ากรรม บุญคูนลาน บุญข้าวจี่ บุญผะเหวด บุญสงกานต์หรือบุญสรงน้ำ บุญบั้งไฟ บุญซำฮะ
บุญเข้าพรรษา บุญข้าวประดับดิน บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา บุญกฐิน ซึ่งประเพณีดังกล่าวส่งผลให้ชาวตำบลโนนสูงร่วมทำกิจกรรมของชุมชนก่อให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี และความรักความสามัคคีระหว่างสมาชิกในชุมชน นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยึดถือปฏิบัติ คือ คอง 14 ซึ่งมาจาก คำว่า ครองธรรม หรือแนวทางในการประพฤติปฏิบัติที่ดีเพื่อความสงบสุขร่มเย็น
|